ข้าวแช่

7 พ.ค. 2561 6,301

ข้าวแช่เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากชาวมอญ ชาวมอญจะเรียกว่า "เปิงด๊าดจ์" ซึ่ง "เปิง" แปลว่า "ข้าว" และ "ด๊าดจ์" แปลว่า "น้ำ" "เปิงด๊าดจ์" จึงมีความหมายว่า "ข้าวน้ำ" ที่นิยมทำขึ้นเพื่อถวายทวยเทพในเทศกาลสงกรานต์ โดยทำถวายข้าวแช่แด่พระสงฆ์ และนำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งในหนึ่งปีจะมีการทำข้าวแช่เพียงครั้งเดียวในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ดังนั้นข้าวแช่จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ข้าวสงกรานต์” หรือที่ชาวมอญเรียกว่า “เปิงซะกราน” เมื่อชาวมอญอพยพเข้ามายังประเทศไทย ประเพณีข้าวแช่ในวันสงกรานต์จึงตามติดชาวมอญมายังประเทศไทยด้วย ทำให้คนไทยได้รู้จักข้าวแช่และเริ่มเข้าสู่สำรับชาววังเมื่อสตรีชาวมอญได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน จึงได้ปรุงข้าวแช่เพื่อถวาย ต่อมา ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้ที่เคยทำงานห้องเครื่องต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้นำข้าวแช่ออกสู่ตลาด จึงทำให้ได้รับความนิยมโด่งดังมาจนถึงปัจจุบันข้าวแช่ที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าวแช่เสวย ช้าวแช่ชาววัง และ ข้าวแช่เมืองเพชร ทั้งหมดล้วนมีแบบอย่างมาจาก ข้าวแช่ชาวมอญ ทั้งสิ้น






ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ไฟล์แนบ ขนาดไฟล์
kaochae.pdf 528.79 KB
Khao_Chae_ENG_.pdf 501.82 KB

บทความอื่นๆที่เกี่ยว

สูตร ทับทิมกรอบ

มีรสหวานนำ ตามด้วยความมันจากกะทิและแห้ว

More...

สูตร ข้าวเหนียวมะม่วง

รสหวานนำตามด้วยความมันและเค็มจากกะทิ

More...

ข้าวเหนียวมะม่วง

จับคู่ความต่างให้กลายเป็นความอร่อย

More...

ทับทิมกรอบ

หวานหอมชื่นใจ ของหวานไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

More...